สำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาเป็นส่วนราชการในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. 2534 โดยมีพันธกิจเพื่อพัฒนาสำนักให้เป็นศูนย์กลางการให้บริการทางวิชาการ แก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม เอกชน หน่วยงานอิสระ หน่วยงานสาธารณะ และชุมชน สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม เอกชน หน่วยงานอิสระหน่วยงานสาธารณะ และชุมชน เพื่อร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรด้วยหลักธรรมาภิบาล เพิ่มศักยภาพบุคลากรของสำนักสู่ความเป็นมืออาชีพ สำนักได้ดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม (พ.ศ. 2566 - 2570) ได้จัดทำขึ้นในช่วงที่มีบริบทแวดล้อมส่งผลกระทบต่อความท้าทายที่สำนักต้องเผชิญทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งผลกระทบเหล่านี้ส่งผลให้สำนักต้องปรับตัวรองรับการทำงานที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถของการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของสำนักให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมกับสภาวการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต สำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมจึงได้ดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม (พ.ศ. 2566 - 2570) ขึ้น มีทิศทางการพัฒนาสำนักอย่างชัดเจน สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนามหาวิทยาลัยในระยะยาวและผลักดันให้สำนักไปสู่ความเป็นเลิศตามวิสัยทัศน์ “ให้บริการทางวิชาการอย่างมีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของหน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม เอกชน หน่วยงานอิสระ หน่วยงานสาธารณะ และชุมชน และสามารถพึ่งพาตนเองได้” อย่างแท้จริง โดยนำกรอบทิศทางของแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพันธกิจการให้บริการวิชาการมาพิจารณา ทั้งนี้สำนักได้ระดมความคิดเห็นของผู้บริหารและบุคลากรทุกคนให้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์สำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม ประกอบด้วย
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ความเป็นเลิศด้านบริการวิชาการ (Academic Service Excellence)
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ความเป็นเลิศด้านการจัดการ (Management Excellence)
ประกอบด้วย 7 เป้าประสงค์ ดังนี้
- พึ่งพาตนเองด้วยการหารายได้จากงานบริการวิชาการ
- มีระบบนิเวศ (Ecosystem) การบริการวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการ
- เป็นองค์กรที่มีภาพลักษณ์ (Branding) ที่ได้รับความเชื่อถือ เชื่อมั่น จากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย
- พัฒนาบุคลากรให้มีคุณลักษณะเฉพาะ (SMART People)
- เป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล (Digital University)
- บริหารและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและรองรับการเปลี่ยนแปลงตามหลักธรรมาภิบาลและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- เป็นมหาวิทยาลัยที่มีระบบนิเวศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ประกอบด้วย 11 กลยุทธ์ ดังนี้
- ส่งเสริมให้มีระบบฐานข้อมูลความเชี่ยวชาญของบุคลากรและความพร้อมด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ สถานที่ สำหรับงานบริการวิชาการ
- ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเพื่อรองรับงานบริการวิชาการอย่างยั่งยืน
- ส่งเสริมให้มีระบบนิเวศ (Ecosystem) ในด้านการบริการวิชาการ
- สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายในและภายนอก
- สร้างแบรนด์ทางการตลาด (Marketing Brand) และภาพลักษณ์องค์กร (Corporate Image) สำหรับใช้เพื่อประชาสัมพันธ์งานบริการวิชาการ
- ส่งเสริมบุคลากรให้มีคุณธรรม จริยธรรม จิตอาสา และจิตสำนึกการรักองค์กร
- พัฒนากลไกการส่งเสริมทักษะดิจิทัลให้กับบุคลากรแบบยั่งยืน
- พัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมบริการเพื่อบุคลากร
- พัฒนาระบบงานบริการโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนพันธกิจของสำนักอย่างยั่งยืน
- ส่งเสริมให้บุคลากรรักองค์กร มีคุณธรรม จริยธรรม จิตอาสา และมีจิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติงาน
- ปรับปรุงสภาพทางกายภาพและสภาพแวดล้อมของ สพอ. ให้มีวัฒนธรรมสีเขียวเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
กำหนดตัวชี้วัดของเป้าประสงค์ไว้ 12 ตัวชี้วัด ดังนี้
- จำนวนรายได้จากงานบริการวิชาการจากหน่วยงานภาครัฐ
- จำนวนรายได้จากงานบริการวิชาการจากหน่วยงานภาคเอกชน
- ร้อยละของจำนวนบุคลากรที่มีส่วนร่วมในงานบริการวิชาการต่อบุคลากรของสำนัก
- ระดับความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในและภายนอกต่อระบบสนับสนุนงานบริการวิชาการของสำนัก
- ร้อยละของจำนวนโครงการที่สำนักให้บริการวิชาการเพิ่มขึ้นจากจำนวนโครงการเฉลี่ยสามปีย้อนหลัง
- ฃร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาตามสมรรถนะ (Re-skills/Up-skills/New-skills)
- ร้อยละของบุคลากรที่สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสนับสนุนการปฏิบัติงานได้
- ระดับความพึงพอใจในการใช้งานระบบสารสนเทศของสำนัก
- จำนวนกระบวนการที่มีการปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลตามเป้าหมายที่กำหนด
- จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้ คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและจิตสำนึกที่ดี
- ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการส่งเสริมความรู้ คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและจิตสำนึกที่ดี
- ระดับความพึงพอใจต่อการใช้พื้นที่ทางกายภาพสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
ซึ่งสำนักจะมุ่งมั่นผลักดันการดำเนินงานต่าง ๆ ให้บรรลุตามตัวชี้วัดเพื่อให้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) บรรลุวิสัยทัศน์ในการให้บริการทางวิชาการอย่างมีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของหน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม เอกชน หน่วยงานอิสระ หน่วยงานสาธารณะ และชุมชน และสามารถพึ่งพาตนเองได้